Results (
Thai) 2:
[Copy]Copied!
ตึกถล่ม! ใครรับผิดชอบ? เป็นคำถามคลาสสิคที่ท้าทายต่อผู้อยู่ในวงการวิศวกรรมก่อสร้างอย่างมาก เนื่องจากวิชาการที่พวกเราชาววิศวกรได้ร่ำเรียนกันมานั้นเป็นหลักการที่นำมาใช้เพื่อการสรรค์สร้างหรือบางครั้งก็เป็นการทำลายเมื่อหมดอายุการใช้งาน....นั่นคือสิ่งที่พวกเราตั้งใจให้เป็น... แต่มีบางเหตุการณ์ที่เกิดโดยไม่ตั้งใจและไม่คาดฝันเช่นการวิบัติของอาคารไม่ว่าจะขณะก่อสร้างหรือขณะการใช้งานซึ่งล้วนแต่นำมาสู่ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมิอาจที่จะประเมินค่าได้ ด้วยเหตุนี้จึงบังเกิดผู้ที่มีหน้าที่ในการสืบหาความจริงของสาเหตุในการวิบัติของอาคารจนสามารถนำไปสู่ผู้รับผิดชอบในสาเหตุการวิบัติ ผู้ทำหน้าที่นี้เรียกว่า”นิติวิศวกร” เนื่องจากผลของงานเป็นที่คาดหวังต่อผู้สูญเสียและมีส่วนต่อผลของคดีในชั้นศาล รวมทั้งเป็นบทเรียนเพื่อใช้ในการป้องกันเหตุที่จะเกิดซ้ำในอนาคต ดังนั้นผู้ทำหน้าที่นี้จึงต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมา เด็ดเดี่ยวและยึดถือจรรยาบรรณในวิชาชีพอย่างเคร่งครัดดังคำกล่าวที่ว่า ”พลังอันยิ่งใหญ่ย่อมมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” บทความนี้เสนองานในหน้าที่ของผู้ทำหน้าที่นิติวิศวกร, ความเป็นมารวมถึงประมวลข้อบังคับด้านจรรยาบรรณที่ควรมีของผู้ที่ทำงานในหน้าที่นี้ โดยวิธีการค้นคว้าทางเอกสารนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์จนได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมรวมทั้งแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่นี้ต่อไป
Being translated, please wait..