Results (
Thai) 1:
[Copy]Copied!
เมืองแพร่หรือเมืองแป้เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาลแต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้างเมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองหรือจารึกไว้ในที่ใดๆโดยเฉพาะนอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดารและจารึกของเมืองอื่น ๆ บ้างเพียงเล็กน้อยเช่นหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือพงศาวดารโยนกและศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัยเชียงใหม่ลำพูนพะเยาน่านซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบันเมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่างตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" ในสมัยขอมเรืองอำนาจราวพ.ศ 1470-1540 นั้นพระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนาและได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมรเช่นลำพูนเป็นหริภุญไชยน่านเป็นนันทบุรีเมืองแพร่เป็นโกศัยนครหรือนครโกศัยชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรียกว่า "เมืองพล" และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น "แพร่" ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า "แป้" เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยพ.ศ. 1654-พ.ศ. เมืองพะเยาพงศาวดารโยนกกล่าวถึงเมืองแพร่ว่า "จุลศักราช 461 (พ.ศ. 1654) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยาเมื่อครองเมืองพะเยาได้ 3 ปีก็เกิดโอรสองค์หนึ่งขนานนามว่าเจื๋องต่อมาได้เป็นขุนเจื๋อง" พอขุนเจื๋องอายุได้ 16 ปีไปคล้องช้างณเมืองน่านพระยาน่านตนชื่อว่า "พละเทวะ" ยกราชธิดาผู้ชื่อว่านางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋องเมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช 421-461 (พ.ศ. 1614-1654) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วยในระหว่างพ.ศ. 1655 - พ.ศ. เมืองพะเยาเมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขแต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็นอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าวขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทยมีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัยนคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) เมืองแพร่สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีชื่อเรียกกันหลายชื่อคือ "พลนครเมืองพลเมืองแพล" ในสมัยขอมเรืองอำนาจระหว่างปีพ.ศ.๑๔๗๐- ๑๕๖๐ พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โกศัยนคร" หรือ "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่าผ้าแพรนับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ (เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑๘) เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ข้าหลวงคนแรกต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๔๕พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้นโดยึดสถานีตำรวจศาลากลางจังหวัดปล้นเงินคลังและปล่อยนักโทษออกจากคุกพระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวจับตัวและบังคับให้ยกเมืองให้แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิตเมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยลงในปีพ.ศ.๒๔๕๒นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลยจังหวัดแพร่ได้ชื่อว่าเป็นประตูเมืองสู่ล้านนาเดิมเป็นนครรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ก่อนการสถาปนาอาณาจักรล้านนาจากหลักฐานต่างๆ ทำให้ทราบว่าจังหวัดแพร่นั้นมีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัยเช่น "เมืองพล" เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดจากการพบหลักฐานในตำนานทางเหนือฉบับใบลานพ.ศ. 1824 "เมืองโกศัย" เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเชียงแสน "เมืองเพล" เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและ "เมืองแพร่" เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใช้เรียกเมืองแพลแต่ได้กลายเสียงเป็นเมืองแพร่จนถึงปัจจุบันในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดแพร่ได้ค้นพบหลักฐานว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นขวานหินกะเทาะขวานหินขัดในเขตอำเภอลองอำเภอวังชิ้นเป็นต้นและที่อำเภอสองยังมีประวัติเกี่ยวกับเมืองเวียงสรองที่เป็นเมืองโบราณในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอซึ่งทุกคนรู้จักกันดี
Being translated, please wait..